GC_ONE REPORT 2021_TH

นอกจากนี้ การด� ำเนินการของคณะกรรมการบริษัทฯ ที่ต้อง ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนด� ำเนินการในเรื่องต่างๆ มีดังต่อไปนี้ การเข้าท� ำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการได้มาหรือจ� ำหน่ายไป ซึ่งสินทรัพย์ที่ส� ำคัญของบริษัทฯ ตามที่กฎหมายและ คณะกรรมการก� ำกับตลาดทุนประกาศก� ำหนด การขายหรือโอนกิจการของบริษัทฯ ทั้งหมดหรือบางส่วน ที่ส� ำคัญให้แก่บุคคลอื่น การซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัทอื่นมาเป็นของบริษัทฯ การท� ำ แก้ไข หรือเลิกสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่ากิจการของ บริษัทฯ ทั้งหมด หรือบางส่วนที่ส� ำคัญ การมอบหมายให้ บุคคลอื่นเข้าจัดการธุรกิจของบริษัทฯ หรือการรวมกิจการ กับบุคคลอื่น โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งก� ำไรขาดทุนกัน การเพิ่มเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ หรือข้อบังคับของบริษัทฯ การเพิ่มทุน/ลดทุนจดทะเบียน การออกหุ้นกู้เพื่อเสนอขายต่อประชาชน การเลิกบริษัท/การควบเข้ากับบริษัทอื่น การประกาศจ่ายเงินปันผลประจ� ำปี กิจการอื่นใดที่กฎหมาย/ข้อบังคับบริษัทฯ ก� ำหนดให้ต้อง ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนมั่นใจได้ว่า บริษัทฯ โดยคณะกรรมการ มีการก� ำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ทิศทางและกลยุทธ์การด� ำเนินงาน มีระบบการติดตาม วัดผลและก� ำกับดูแลการบริหารงานของ ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ และเป็นอิสระจากฝ่ายจัดการ รับผิดชอบต่อผลของการปฏิบัติหน้าที่ของตนตามหลักการ ก� ำกับดูแลกิจการที่ดีในเรื่องต่างๆ ดังนี้ รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (1) คณะกรรมการบริษัทฯ ก� ำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติใน การพิจารณารายการที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ระหว่างผู้ถือหุ้น กรรมการ ผู้บริหาร และบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งอื่นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในกรณีการท� ำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งอยู่ภายใต้อ� ำนาจอนุมัติของผู้ถือหุ้นให้ผ่านการกลั่นกรอง จากคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่าการเข้าท� ำ รายการดังกล่าวเป็นธรรม มีความสมเหตุสมผล และ เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและเป็นไปตามกฎหมายและ ข้อก� ำหนดของ ก.ล.ต. (2) คณะกรรมการบริษัทฯ ดูแลให้มีการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ ก� ำหนดด้วยความรอบคอบภายในหลักการของเหตุผลและ ความเป็นอิสระต่อกัน มีกระบวนการที่โปร่งใสในการอนุมัติ เข้าท� ำรายการ และค� ำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ อย่างครบถ้วน ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของ ก.ล.ต. (3) ผู้มีส่วนได้เสียจะไม่มีส่วนร่วมตัดสินใจในการพิจารณาเข้า ท� ำรายการ โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทุกครั้ง ประธานกรรมการบริษัทฯ จะเป็นผู้แจ้งต่อที่ประชุมขอความ ร่วมมือให้กรรมการบริษัทฯ ปฏิบัติตามนโยบายในการ พิจารณารายการที่อาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์ โดย ให้กรรมการบริษัทฯ แจ้งต่อที่ประชุม เพื่องดออกเสียงหรือ งดให้ความเห็นหรือออกจากที่ประชุมในระเบียบวาระที่มี ความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสีย (4) คณะกรรมการบริษัทฯ ก� ำกับดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูล รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างถูกต้อง ครบถ้วนในแบบ 56-1 One Report การบริหารความเสี่ยง (1) คณะกรรมการบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มและความ มั่นคงให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน โดยสอดคล้องกับหลักการ ก� ำกับดูแลกิจการที่ดี และเพื่อให้บรรลุผลส� ำเร็จดังกล่าว จึงได้จัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในระดับ คณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อก� ำหนดนโยบายและเสนอแนะ แนวทางให้การบริหารความเสี่ยง รวมทั้งจัดให้มีระบบ บริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อ สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงที่ส� ำคัญต่างๆ ของ บริษัทฯ ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (2) คณะกรรมการบริษัทฯ สอบทานให้มีการปฏิบัติตามกรอบ การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร พร้อมทั้งให้ค� ำแนะน� ำ ในการบริหารความเสี่ยงที่ส� ำคัญ สอบทานการรายงานการ บริหารความเสี่ยง และติดตามความเสี่ยงที่ส� ำคัญ เพื่อให้ มั่นใจว่ามีการจัดการความเสี่ยงที่เพียงพอและเหมาะสม ระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน (1) คณะกรรมการบริษัทฯ ให้ความส� ำคัญและจัดให้มีระบบการ ควบคุมภายใน เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผล ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการด� ำเนินงาน และ ความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน และการปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ และนโยบาย รวมถึงเรื่องการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน โดยจัดตั้งสายงานตรวจสอบภายในซึ่งมีความ เป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ท� ำหน้าที่สอบทานความเพียงพอ และประสิทธิผลของวิธีการควบคุม ในการตอบสนองต่อ ความเสี่ยง รายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และ คณะกรรมการบริษัทฯ (2) คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาทบทวนความเหมาะสมและ ความเพียงพอของระบบควบคุมภายในทั้ง 5 องค์ประกอบ คือ สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) กิจกรรมการ ควบคุม (Control Activities) สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication) และการติดตาม ประเมินผล (Monitoring Activities) เป็นประจ� ำปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของ บริษัทฯ รวมทั้งการปรับปรุงระบบการควบคุมภายในอย่าง ต่อเนื่อง (3) คณะกรรมการบริษัทฯ จัดให้มีระบบที่เป็นทางการและ โปร่งใส ในการรักษาความสัมพันธ์กับผู้ตรวจสอบภายนอก และภายใน โดยก� ำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบ สนับสนุนการปฏิบัติหน้ าที่ตามความรับผิดชอบของ คณะกรรมการบริษัทฯ ในการสอบทานการด� ำเนินงานของ บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม อย่างเพียงพอ ให้ความเห็น ที่เป็นอิสระและเที่ยงธรรมต่อระบบการควบคุมภายในและ การบริหารความเสี่ยง 136 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ �กัด (มหาชน) แบบ 56-1 One Report ประจำ �ปี 2564

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=