ส� ำหรับสถานการณ์ราคาและส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ในปี 2565 คาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2564 จาก เศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการ ปิดประเทศ โดยหันมาใช้นโยบายอยู่ร่วมกับโควิด-19 (Live with COVID-19) อีกทั้งอุปสงค์ภาคการเดินทางเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะทางอากาศเทียบกับในปีที่ผ่านมายังสามารถมีการ เติบโตขึ้นได้อีก เพื่อให้กลับเข้ามาใกล้เคียง หรือเป็นปกติ นอกจากนี้ คาดว่าจีนจะส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลงหลัง จากประกาศนโยบาย Dual Control Energy Policy อย่างไร ก็ตาม มีปัจจัยกดดันจากโรงกลั่นขนาดใหญ่หลายแห่งที่เลื่อน การเปิดด� ำเนินการจากปี 2564 เป็นปี 2565 ซึ่งมีก� ำลังการผลิต รวมกันราว 1.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ท� ำให้อุปทานผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่โดยภาพรวมจากการที่อุปสงค์ เพิ่มขึ้น จึงคาดว่าค่าการกลั่นในปี 2565 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อ เทียบกับปี 2564 สถานการณ์ตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ ผลิตภัณฑ์พาราไซลีน ในด้านอุปสงค์ สถานการณ์ตลาดพาราไซลีนในปี 2564 ได้รับ แรงกดดันจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการกลายพันธุ์ ของโควิดสายพันธุ์ใหม่โอไมครอน ท� ำให้อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ พาราไซลีนปรับตัวลดลง โดยเฉพาะความต้องการผลิตภัณฑ์ สินค้าปลายทางในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม ขั้นปลายที่มีสัดส่วนสูงที่สุดในสายพาราไซลีน อย่างไรก็ตาม ตลาดพาราไซลีนมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ PET Resin ที่เพิ่มขึ้น จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาให้ความ ส� ำคัญด้านสุขอนามัยมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ PET Resin ในบรรจุภัณฑ์อาหารและน�้ ำดื่มแบบ ใช้ครั้งเดียวเพิ่มขึ้นและลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เคยใช้งานแล้ว ในด้านอุปทาน ก� ำลังการผลิตพาราไซลีนในตลาดโลกปี 2564 อยู่ที่ 67.1 ล้านตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.0 ล้านตัน จากปี 2563 โดยก� ำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาจากประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่จาก นโยบายพึ่งพาการผลิตในประเทศและลดการน� ำเข้ าจาก ต่างประเทศ ประกอบกับมีแรงกดดันจากปริมาณสินค้าคงคลัง ที่อยู่ในระดับสูง และนโยบาย Dual Control Energy Policy ส่งผลให้ผู้ผลิตทั้ง Upstream และ Downstream ลดก� ำลังการ ผลิตลง โดย Downstream สาย Polyester chain ลดก� ำลัง การผลิตลงมากกว่า Upstream จึงเป็นปัจจัยกดดันตลาด พาราไซลีน แต่อย่างไรก็ตาม อุปทานใหม่ที่เพิ่มขึ้นในปี 2564 ที่ 2.0 ล้านตัน นับว่าอยู่ในระดับที่น้อยกว่าอุปทานใหม่ที่เพิ่มในปี 2563 ที่ระดับ 8.5 ล้านตัน จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ส่วนต่างราคาระหว่างพาราไซลีนและ แนฟทาในปี 2564 อยู่ที่ 210 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัว เพิ่มขึ้น 11 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน จากปี 2563 ผลิตภัณฑ์เบนซีน ในด้านอุปสงค์ สถานการณ์ตลาดเบนซีนในปี 2564 ได้รับการ สนับสนุนจากอุปสงค์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Polystyrene (PS) ที่ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิดและความกังวลในการกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน ท� ำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยหันมาให้ ความส� ำคัญในด้านสุขอนามัยมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ กลุ่มผลิตภัณฑ์ Polystyrene (PS) และ Styrene Monomer (SM) ในบรรจุภัณฑ์อาหาร และความต้องการใช้ในกลุ่ม Phenol/Acetone เพื่อเป็นสารละลายในการท� ำความสะอาด (Hand sanitizer) เป็นไปในทิศทางที่ดี กอปรกับหลายประเทศ มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ท� ำให้ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ เบนซีนในอุตสาหกรรมสินค้าที่มีความจ� ำเป็นจากการที่มี พฤติกรรมท� ำงาน/อยู่บ้านมากขึ้น กับการปรับพฤติกรรมลด การใช้การเดินทางสาธารณะลงและหันมาเพิ่มการเดินทางโดย รถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ในบ้าน เช่น หมวดตู้ เย็น ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ มือถือ อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมรถยนต์ มีอุปสงค์ปรับตัว ดีขึ้น ประกอบกับปรากฏการณ์ Polar Vortex ในไตรมาส 1/2564 ส่งผลให้ผู้ผลิตเบนซีนในสหรัฐฯ หลายรายหยุด เดินเครื่องการผลิต และตลาดเบนซีนทั่วโลกอยู่ในภาวะตึงตัว ส่งผลให้ส่วนต่างราคาเบนซีนและแนฟทาในไตรมาส 2/2564 ปรับสูงขึ้น อยู่ที่ 360 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน แต่หลังจากที่ผู้ผลิต เบนซีนในสหรัฐฯ กลับมาเดินเครื่องปกติแล้วนั้น ส่วนต่างราคา เบนซีนและแนฟทา จึงลดลง ประกอบกับนโยบาย Dual Control Energy Policy ในจีน ส่งผลให้ผู้ผลิตทั้ง Upstream และ Downstream ลดก� ำลังการผลิตลง แต่ Downstream สาย Styrene chain ลดก� ำลังการผลิตลงมากกว่า Upstream จึง เป็นปัจจัยกดดันตลาดเบนซีนในไตรมาส 3/2564 และต่อเนื่อง มาในไตรมาส 4/2564 ในด้านอุปทาน ก� ำลังการผลิตเบนซีนในตลาดโลกปี 2564 อยู่ ที่ 72.6 ล้านตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.7 ล้านตัน จากปี 2563 ซึ่ง นับว่าอยู่ในระดับต�่ ำกว่าการขยายก� ำลังการผลิตในปี 2563 ที่ ระดับ 3.1 ล้านตัน โดยก� ำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาจากประเทศจีน เป็นส่วนใหญ่จากนโยบายพึ่งพาการผลิตในประเทศและลด การน� ำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ตลาดเบนซีนยังมี ปัจจัยสนับสนุนจากปริมาณสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับต�่ ำมาก ในช่วงไตรมาสที่ 3 และส่วนต่างราคาเบนซีนในภูมิภาคเอเชีย และสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้น (Arbitrage window opened) ใน ไตรมาส 4 จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ส่วนต่างราคาระหว่างเบนซีนและ แนฟทาในปี 2564 อยู่ที่ 268 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับเพิ่มขึ้น 162 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน จากปี 2563 แนวโน้มสถานการณ์ตลาดอะโรเมติกส์ปี 2565 แนวโน้มสถานการณ์ตลาดพาราไซลีน ปี 2565 ถึงแม้คาดว่า อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์พาราไซลีนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปี 2564 จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มผ่อนคลาย เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว 61 การประกอบธุรกิจ และผลการดำ �เนินงาน การกำ �กับดูแลกิจการ งบการเงิน ภาคผนวก
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=