การบริหารจัดการ ความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยงและปัจจัยความเสี่ยง (Risk Management and Risk Factors) การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ในปี 2564 บริษัทฯ ยังคงเผชิญกับความท้าทายท่ามกลาง ผลกระทบที่รุนแรงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของ พนักงาน ความต่อเนื่องทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตลอด จนความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ด้วยระบบ การบริหารจัดการความเสี่ยงที่เข้มแข็ง ท� ำให้บริษัทฯ สามารถ จัดการกับความท้าทายที่เกิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็น คณะกรรมการ เฉพาะกิจท� ำหน้ าที่ติดตามสถานการณ์ การแพร่ระบาด ก� ำหนดมาตรการป้องกันต่างๆ ให้สอดคล้อง กับสถานการณ์การระบาดในแต่ละระลอกเพื่อบริหารจัดการ ความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าว ท� ำให้สามารถปรับตัวได้อย่าง รวดเร็วโดยให้พนักงานปฏิบัติงานจากที่พัก (Work from Home) เพิ่มจากร้อยละ 66 เป็นร้อยละ 90-100 ทันทีที่การ ระบาดกลับมาอีกครั้ง รวมทั้งรณรงค์และจัดหาวัคซีนเพื่อให้ บุคลากรร้อยละ 100 ของบริษัทฯ สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่าง ทั่วถึงและรวดเร็ว นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงด� ำเนินมาตรการซึ่ง ได้ด� ำเนินการมาตั้งแต่การระบาดระลอกแรกอย่างเคร่งครัดเพื่อ ความต่อเนื่องของการด� ำเนินธุรกิจ ได้แก่ มาตรการ “Lock up” ซึ่งเป็นการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของพนักงานที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต ตลอดจนเข้มงวดเรื่องการรายงาน ตนเองของพนักงานผ่านแอปพลิเคชัน GC COVID-19 Reporting System เพื่อติดตามสุขภาพ การเดินทางและสถานะการฉีดวัคซีน ของพนักงานทั้งองค์กร นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการท� ำแบบ ส� ำรวจการปฏิบัติงานจากที่พัก (Work From Home Survey) เพื่อสร้างความมั่นใจว่าพนักงานสามารถท� ำงานจากที่พักได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของผลกระทบทางด้านความ ผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ทั้งจากผลกระทบของการแพร่ระบาด ของโควิด-19 และจากปัจจัยความไม่แน่นอนอื่นๆ อาทิ สงคราม ราคาน�้ ำมัน ก� ำลังการผลิตปิโตรเคมีใหม่ๆ ซึ่งบริษัทฯ ได้มีการ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและประเมินผลกระทบต่อ ผลประกอบการรายสัปดาห์ รวมทั้งก� ำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อ ลดความเสี่ยงและผลกระทบ อาทิ การลดค่าใช้จ่าย การจัดล� ำดับ ความส� ำคัญการลงทุน ปรับแผนการผลิตและแผนการขาย ป้องกันความเสี่ยงด้านราคาและส่วนต่างราคาโดยใช้ตราสาร อนุพันธ์ (Commodity Hedging) รวมถึงปรับสัดส่วนการขาย ผลิตภัณฑ์ (Product Portfolio) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และด้วยความร่วมมือกัน ของทุกภาคส่วนท� ำให้บริษัทฯ สามารถรับมือกับเหตุการณ์ความ ท้าทายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นถึงมาตรฐาน การบริหารความเสี่ยงที่มีการพัฒนาและปรับปรุงแบบบูรณาการ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องทั่วทั้งองค์กร เพื่อลดโอกาสและ ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยง และ/หรือการให้ได้มา ซึ่งโอกาสทางธุรกิจ อันจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ให้บริษัทฯ และสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน บริษัทฯ มุ่งมั่นในการบริหารความเสี่ยงควบคู่ไปกับการจัดการ เชิงกลยุทธ์ เพื่อให้การเติบโตของบริษัทฯ เป็นไปตาม วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และเป้าหมายหลักขององค์กรภายใต้ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ซึ่งครอบคลุมถึงการบริหารความเสี่ยง ด้านคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยของ พนักงาน สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มาตรฐานการด� ำเนินงาน คู่มือการปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง และข้อก� ำหนดของประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปท� ำธุรกิจ หรือมีการลงทุนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การต่อต้านทุจริต คอร์รัปชัน ตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นธรรม โดย บริษัทฯ มีระบบการบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤตที่เหมาะสม อ้างอิงตามมาตรฐานสากลของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) หรือ ERM COSO (2017) และมาตรฐานสากลระดับนานาชาติ ISO (International Organization for Standardization) หรือ ISO31000:2018 รวมถึงหลักการก� ำกับดูแลกิจการที่ดีส� ำหรับ บริษัทจดทะเบียนปี 2560 (Thai Corporate Governance Code for Listed Companies - 2017) และแนวทางต่อต้านการทุจริต และความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งบริษัทฯ ได้รับการรับรองสถานะสมาชิกโครงการแนวร่วมต่อต้าน คอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) และได้รายงานผลการ ทบทวนการด� ำเนินงานตามนโยบาย และมาตรการต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชันต่อคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการ ก� ำกับดูแลกิจการ และคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯ ยังคงมีมาตรการและกระบวนการติดตามควบคุมที่ ครอบคลุมเพียงพอและเหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เชื่อมโยง ระบบบูรณาการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กรกับนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานการปฏิบัติงานต่างๆ ของ บริษัทฯ ครอบคลุมครบทั้งด้านการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance) การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน (Risk Management and Internal Control) และการก� ำกับดูแลการ ปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม กฎหมาย กฎระเบียบ (Compliance) หรือเรียกโดยย่อว่า GRC เพื่อการป้องกัน ลดโอกาส และ 76 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ �กัด (มหาชน) แบบ 56-1 One Report ประจำ �ปี 2564
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=