GC_ONE REPORT 2021_TH

เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยง บริษัทฯ ได้ศึกษาและน� ำเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงแบบ ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ ประเมินและก� ำหนดกรอบ การบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ อาทิ การก� ำหนดระดับ ความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ (Risk Appetite) การประเมิน และจัดล� ำดับความส� ำคัญของความเสี่ยงโดยใช้แผนที่ความเสี่ยง (Risk Map) การติดตามการบริหารความเสี่ยงผ่านมาตรการ จัดการความเสี่ยง (Mitigation Plan) และดัชนีชี้วัดความเสี่ยง ที่ส� ำคัญ (Key Risk Indicator: KRI) นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมี การน� ำเครื่องมือการวิเคราะห์ความอ่อนไหว หรือ Sensitivity Analysis และเครื่องมือการทดสอบภาวะวิกฤต หรือ Stress Testing มาประยุกต์ใช้ เพื่อประเมินผลกระทบของความเสี่ยง ภายใต้สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ (Possible Assumption) และวางแผนมาตรการเพื่อเตรียมความพร้ อมรองรับต่อ สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น และเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ๆ ที่อาจ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา บริษัทฯ มีการติดตามสถานการณ์และ แนวโน้มของปัจจัยภายนอกอย่างต่อเนื่องตามหลักการของ ระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ตาม PESTEL Analysis Framework และให้ความ ส� ำคัญกับปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) ที่อาจ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้บริษัทฯ สามารถเตรียมมาตรการจัดการความเสี่ยงเชิงรุก ได้ก่อนที่จะกระทบต่อการด� ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ วัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัทฯ มุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมการจัดการความเสี่ยงทั่วทั้ง องค์กร และขยายผลการด� ำเนินการไปสู่การบูรณาการบริหาร จัดการแบบ GRC (Governance, Risk Management & Internal Control and Compliance) เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนผ่านองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ การก� ำกับดูแล ภาวะผู้น� ำ โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง เทคนิคการบริหารความเสี่ยง การสื่อสาร และการเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารความเสี่ยง บริษัทฯ มีการ ก� ำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงผ่านการก� ำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และกรอบการบริหาร ความเสี่ยง โดยมีโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุม ในทุกระดับ และก� ำหนดให้มีการติดตามและรายงานผลการ บริหารความเสี่ยงต่อผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทฯ อย่าง สม�่ ำเสมอ นอกจากนี้ ยังมีการทบทวนและก� ำหนดบทบาทหน้าที่ และแนวปฏิบัติของคณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงให้ เหมาะสม รวมถึงมีการสื่อสารและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการบริหารความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ในปี 2564 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เพิ่มช่องทางการเรียนรู้รูปแบบ ออนไลน์ (e-Learning) ครอบคลุมทั้งด้านการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance) การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน (Risk Management and Internal Control) และการก� ำกับ ดูแลการปฏิบัติงานให้ เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ (Compliance) หรือ GRC เช่น หลักสูตรฝึกอบรมการบริหาร จัดการความเสี่ยงองค์กรขั้นพื้นฐาน (Fundamental of Enterprise Risk Management) หลักสูตรบูรณาการ GRC (Integrated GRC) หลักสูตรพัฒนาแผนรับมือจากภัยพิบัติต่อ องค์กรด้วยมาตรฐาน ISO22301 (Developing BCMS with ISO22301) เป็นต้น และยังได้จัดให้มีการอัพเดทสถานการณ์ ทางธุรกิจ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และประเด็น ความเสี่ยงใหม่โดยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภายในและภายนอก องค์กรให้กับผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับ เพื่อพัฒนาความรู้ความ สามารถในการระบุปัจจัยเสี่ยง ประเมินผลกระทบของความเสี่ยง และก� ำหนดมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งพัฒนาและขยายผลการด� ำเนินงานบูรณาการ GRC ไปสู่บริษัทในกลุ่มเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ในวัฒนธรรมองค์กรที่ดีตามหลักการ GRC ปัจจัยความเสี่ยง (Risk Factors) บริษัทฯ ตระหนักถึงปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบ อย่างมีนัยส� ำคัญต่อการด� ำเนินธุรกิจและได้วิเคราะห์ประเด็น ความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอก รวมถึงแนวโน้มทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี อุตสาหกรรม คู่แข่ง ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ และได้ก� ำหนด มาตรการลดความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดผลกระทบ จากปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น และช่วยให้บริษัทฯ สามารถบรรลุ เป้าหมายตามกลยุทธ์และทิศทางตามที่ก� ำหนดไว้ โดยสามารถ แบ่งปัจจัยเสี่ยงระดับองค์กรออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 78 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ �กัด (มหาชน) แบบ 56-1 One Report ประจำ �ปี 2564

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=