ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risk) การขับเคลื่อนกลยุทธ์ที่ก� ำหนดไว้ให้สัมฤทธิ์ผลเป็นสิ่งส� ำคัญในการน� ำไปสู่การบรรลุเป้าหมายระยะยาวขององค์กร ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเป็นความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อน กลยุทธ์ให้ประสบความส� ำเร็จ บริษัทฯ จึงได้ก� ำหนดมาตรการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆ ดังนี้ ปัจจัยความเสี่ยง มาตรการจัดการความเสี่ยงที่สำ�คัญ ปัจจัยความเสี่ยงด้านการลงทุน (Investment Risk) การลงทุนเพื่อเพิ่มความสามารถในการ แข่งขัน สร้างความเติบโตและยั่งยืนของ ธุรกิจในระยะยาว อาจทำ �ให้เกิดความเสี่ยง ด้านการลงทุนที่บริษัทฯ ต้องติดตามและ บริหารจัดการอย่างใกล้ชิด ทั้งในบริบท ด้านความสามารถในการจัดหาเงินลงทุน เพื่อสนับสนุนการเติบโต ควบคู่ไปกับ การรักษาระดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน (Credit Rating) ให้อยู่ในระดับ Investment Grade และการจัดสรรเงินลงทุนอย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อการเติบโตของธุรกิจ และเพิ่มผลตอบแทนในอนาคต ควบคู่ไป กับการสร้างความสมดุลด้านความยั่งยืน เพื่อให้โครงการที่บริษัทฯ ลงทุนสามารถ ดำ �เนินการสำ �เร็จเป็นไปตามเป้าหมาย กลยุทธ์ที่วางไว้ บริษัทฯ ดำ �เนินมาตรการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการลงทุนมาอย่าง ต่อเนื่อง ดังนี้ วิเคราะห์ ทบทวน จัดล� ำดับความส� ำคัญของโครงการลงทุน และความสามารถ ในการลงทุนอย่างรอบคอบให้สอดคล้องกับแนวโน้มต่างๆ และสภาวะเศรษฐกิจ ที่มีความผันผวน ตลอดจนก� ำหนดมุมมองด้านความยั่งยืน (Sustainability) เป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาการลงทุนที่ส� ำคัญ มีกระบวนการพิจารณาการลงทุนตามขั้นตอนอย่างรอบคอบและรัดกุม (Stage Gate) ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การแสวงหาโอกาสในการลงทุน (Opportunity Seeking) จนถึงการขออนุมัติการลงทุนตามกระบวนการก� ำกับดูแลการลงทุน ของบริษัทฯ (Corporate Investment Management: CIM) ผ่านคณะกรรมการ ก� ำกับดูแลการลงทุน ส� ำหรับโครงการลงทุนส� ำคัญที่มีมูลค่าหรือภาระผูกพันสูง กระทบต่อชื่อเสียงหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทฯ อย่างมีนัยส� ำคัญ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจะช่วยพิจารณากลั่นกรอง และให้ความเห็น ต่อความเพียงพอของการประเมินความเสี่ยงและมาตรการจัดการความเสี่ยง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาอนุมัติการลงทุน ติดตามและประเมินผลโครงการที่ด� ำเนินการแล้วเสร็จ (Look Back Analysis) เพื่อน� ำมาปรับปรุงการบริหารโครงการของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง และเพิ่ม โอกาสในความส� ำเร็จส� ำหรับการพัฒนาโครงการอื่นๆ ในอนาคต เตรียมความพร้อมด้านการจัดหาเงินทุน และรักษาสภาพคล่องของบริษัทฯ ตามนโยบายด้านการเงิน เพื่อรองรับการลงทุนในอนาคตโดยพิจารณามาตรการ จัดหาเงินทุนเพื่อไม่ให้กระทบต่อ Credit Rating และวินัยทางการเงิน ปัจจัยความเสี่ยงด้านความสามารถ ในการแข่งขัน (Competitiveness Risk) ในสภาวะเศรษฐกิจสังคมที่มีความผันผวน ประกอบกับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ต่างๆ ที่รุนแรง เช่น การเข้ามาของผู้เล่น รายใหม่ การแข่งขันทางการตลาด การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การเกิดแนวโน้มความปกติใหม่ (New Normal Trend) บริษัทฯ ต้องเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจ มีความเข้มแข็งและมีความยืดหยุ่น (Resilience) รวมทั้งสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขัน ให้สามารถดำ �เนินธุรกิจภายใต้ ความท้าทายและความผันผวนของสถานการณ์ จากปัจจัยภายนอก และเติบโตได้อย่าง ยั่งยืน บริษัทฯ ด� ำเนินมาตรการเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านความสามารถในการแข่งขัน ดังนี้ ปรับปรุงประสิทธิภาพการด� ำเนินงาน และสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านโครงการ MAX Infinity มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบริหารจัดการแบบองค์รวม (MTP Integration) ซึ่งจะสร้าง Synergy ระหว่างโรงงานต่างๆ ภายในกลุ่มบริษัทฯ และภายใน กลุ่ม ปตท. รวมถึง Supplier และลูกค้า เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและ ความสามารถในการแข่งขันใน 5 ด้านหลัก ได้แก่ (1) Supply Chain Optimization (2) Polymer Marketing and Logistic Optimization (3) Energy and Utility Optimization (4) Value Added Enhancement และ (5) Value Maintenance นอกจากนั้น บริษัทฯ ยกระดับการด� ำเนินงานด้านนวัตกรรม รวมถึงการน� ำเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุงโรงงาน ให้ทันสมัย (Modernization & Innovation) พัฒนากระบวนการผลิตให้เป็น แบบ Smart Plant เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ด� ำเนินโครงการ FiT เพื่อปรับปรุงกระบวนการท� ำงาน (Lean & Process Improvement) ให้มีประสิทธิภาพพร้อมความคล่องตัวสูง ช่วยลดความเสี่ยง และค่าใช้จ่าย 82 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ �กัด (มหาชน) แบบ 56-1 One Report ประจำ �ปี 2564
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=