GC One Report 2023 [TH]

การบริหารจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) บริษัทฯ ปรับปรุงกลยุทธ์ทางด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ผ่าน การวางแผนและจัดสรรทรัพยากรในการสนับสนุนงานวิจัยและ การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เสริมสร้างความได้เปรียบใน การแข่งขันของบริษัทฯ และส่งเสริมให้สามารถบรรลุเป้าหมาย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายใต้กลยุทธ์การบริหาร จัดการด้านนวัตกรรม และกรอบการด� ำเนินงาน ประกอบด้วย 1) การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก (Competitiveness & Decarbonization) 2) ด� ำเนินงานด้านนวัตกรรมรูปแบบเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด (Market-Focused Innovation) 3) แพลตฟอร์มด้านการเติบโตของนวัตกรรม (Innovation Growth Platform) 4) การเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของหน่วยสนับสนุน (Enabler) นอกจากนี้ ยังมีกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการด้านนวัตกรรมใหม่ เช่น การผลิตพลังงานและ เชื้อเพลิงคาร์บอนต�่ ำ, Chemical Recycling, ก๊าซสังเคราะห์ (Syngas), Textile Recycling และการดักจับคาร์บอน เป็นต้น บริษัทฯ มีการลงทุนในรูปแบบ Corporate Venture Capital (CVC) และก� ำหนดทิศทางการลงทุนในอนาคตที่มุ่งเน้นในกลุ่ม ธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและคาร์บอนตํ่า (High Value & Low Carbon Business) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของบริษัทฯ และสามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจมูลค่าสูงได้ผ่านการ ลงทุนด้านนวัตกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม ส่งเสริมให้มีการสร้างความร่วมมือระยะยาวกับเครือข่าย หน่วยงาน หรือผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกและเพิ่มศักยภาพและ ขีดความสามารถของพนักงาน โดยในปี 2566 บริษัทฯ มีการด� ำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมที่หลากหลาย ดังนี้ 2. การแบ่งปันความเชี่ยวชาญสู่สังคม (Sharing) : ส่งเสริม การสร้างความแข็งแรงขององค์กรผ่านการแบ่งปันแนวคิด และนวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าสู่ชุมชนและสังคม ให้เติบโต เคียงคู่กับอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน โดยตัวอย่าง โครงการที่โดดเด่น อาทิ โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม (Smart Farming by GC) เป็นการน� ำนวัตกรรมของ องค์กร อาทิ พลาสติกคลุมโรงเรือนแบบคัดเลือกช่วงแสง และถุงยืดอายุผัก ร่วมกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้าน พลังงานทดแทนและ IoTs (Internet of Things) มาใช้ ยกระดับการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรและพัฒนา สินค้าเกษตร พร้อมทั้งพัฒนาทักษะเยาวชนด้านการเกษตร สมัยใหม่ ให้เรียนรู้และสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยในปี 2566 สามารถสร้างรายได้สู่ชุมชน มากกว่า 860,000 บาท หรือมีรายได้เฉลี่ยจากการ จ� ำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้นราว 31,800 บาทต่อเดือน เมื่อ เทียบกับปี 2565 3. การพัฒนาความยั่งยืนของระบบนิเวศ (Ecology) : ให้ความส� ำคัญกับแนวทางการด� ำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับ การมีระบบนิเวศที่ยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า โดย ตัวอย่างโครงการที่โดดเด่น อาทิ โครงการ GC รวมพลัง รักษ์น�้ ำ เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ ภาครัฐ สถาบัน การศึกษา และชุมชนในพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อบรรเทา ปัญหาน�้ ำท่วม-น�้ ำแล้งในพื้นที่ชุมชน ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การสร้างฝายกักเก็บน�้ ำ-ฝายดักตะกอนด้วยกระสอบ พลาสติกแบบมีปีก และการจัดท� ำธนาคารน�้ ำใต้ดินระบบปิด เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการรุกล�้ำของน�้ ำเค็ม ภัยแล้ง และ น�้ ำท่วมขัง เป็นต้น ช่วยให้เกษตรกรมีน�้ ำใช้ส� ำหรับ ท� ำการเกษตรตลอดทั้งปี และสามารถลดปริมาณการใช้น�้ ำ จากระบบประปา คิดเป็นมูลค่า 126,200 บาทต่อปี การจัดการด้านความยั่งยืน ในมิติเศรษฐกิจ 108

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=