GC One Report 2023 [TH]

หัวข้อที่ 2 Risk Management for Directors บรรยาย โดยที่ปรึกษา บริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จ� ำกัด (EY) เพื่อเสริมสร้างความรู้ความ เข้าใจในหลักการและการวิเคราะห์ประเด็นส� ำคัญของ การบริหารจัดการความเสี่ยงในองค์กรผ่านมุมมอง ของกรรมการบริษัทฯ รวมถึงกรอบโครงสร้างการ บริหารความเสี่ยงที่ดีและวิธีการก� ำกับดูแลความเสี่ยง แต่ละประเภทอย่างเหมาะสม เพื่อน� ำไปปรับใช้ใน การก� ำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงควบคู่กับการ บริหารจัดการธุรกิจขององค์กร นอกจากหลักสูตรอบรมดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ ได้จัดท� ำ หลักสูตร/โปรแกรมพัฒนาผู้บริหารทุกระดับ โดยมีรายละเอียด ปรากฏในรายงานหัวข้อข้อมูลส� ำคัญเกี่ยวกับ “พนักงาน” สนับสนุนเลขานุการบริษัทเข้าอบรมเพื่อสนับสนุนการ ท� ำงานของกรรมการบริษัทฯ โดยปี 2566 เลขานุการบริษัท ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย (IOD) ได้แก่ หลักสูตร Anti-Corruption Practical Guide (ACPG) รุ่น 64/2023 และหลักสูตร Board Nomination & Compensation Program (BNCP) รุ่น 16/2023 และเข้ารับการอบรม In-house Programs ของบริษัทฯ ได้แก่ หลักสูตร Financial Statements for Directors และ Risk Management for Directors โดยบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จ� ำกัด (EY) การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทฯ บริษัทฯ ก� ำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจ� ำทุกปี ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้คณะกรรมการได้ร่วมพิจารณาทบทวนผลการปฏิบัติงาน ประจ� ำปีและใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ ตามหลักการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี โดยใช้แบบประเมินผลการ ปฏิบัติงานของคณะกรรมการทั้ง 3 แบบ ได้แก่ ประเมิน กรรมการทั้งคณะ ประเมินตนเองและประเมินแบบไขว้ (ประเมิน กรรมการท่านอื่น) ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ อาจพิจารณาจัด ให้มีที่ปรึกษาภายนอกมาช่วยในการก� ำหนดแนวทางและให้ ข้อเสนอแนะต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานในทุกๆ 3 ปี เพื่อ ให้สอดคล้องกับหลัก CG Code และเกณฑ์การประเมินดัชนี ความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) โดยในปี 2566 มีกรรมการ ที่ท� ำการประเมินผลจ� ำนวน 15 คน ปรากฏตามรายละเอียดดังนี้ การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ (ทั้งคณะ) มีหัวข้อการประเมิน ประกอบด้วย 6 หมวดหลัก ได้แก่ 1) นโยบายของคณะกรรมการ (Board Policy) 2) การปฏิบัติ หน้าที่ของคณะกรรมการ (Board Performance) 3) โครงสร้าง องค์ประกอบ และคุณสมบัติของคณะกรรมการ (Board Structure) 4) แนวปฏิบัติของคณะกรรมการ (Board Style) 5) การจัดเตรียมและการด� ำเนินการประชุม (Board Meeting) และ 6) การพัฒนากรรมการ (Board Development) โดย ผลการประเมินคณะกรรมการ (ทั้งคณะ) มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 99.1 การประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการรายบุคคล (ตนเอง) มีหัวข้อการประเมิน ประกอบด้วย 3 หมวดหลัก ได้แก่ 1) ความรู้ ความเชี่ยวชาญของกรรมการ การพัฒนาตนเองและการท� ำงาน เป็นทีม 2) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ และ 3) การอุทิศ เวลาและการเข้าร่วมประชุม โดยผลการประเมินกรรมการ รายบุคคล (ตนเอง) มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 97.2 การประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการรายบุคคล (แบบไขว้) มีหัวข้อการประเมินประกอบด้วย 3 หมวดหลัก คือ 1) ความรู้ความเชี่ยวชาญของกรรมการ การพัฒนาตนเองและ การท� ำงานเป็นทีม 2) การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ และ 3) การอุทิศเวลาและการเข้าร่วมประชุม โดยผลการประเมิน กรรมการรายบุคคล (แบบไขว้ ) มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 99 คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง คณะกรรมการเฉพาะเรื่องทั้ง 4 คณะ ได้จัดให้มีการประเมินผล การปฏิบัติงานเป็นการเฉพาะเรื่อง แบบทั้งคณะและรายบุคคล โดยในปี 2566 คณะกรรมการเฉพาะเรื่องทุกคณะได้มีการ ทบทวน/ปรับปรุงข้อค� ำถามและเกณฑ์การประเมินให้ครอบคลุม การปฏิบัติงานตามแนวปฏิบัติที่ดี (1) คณะกรรมการตรวจสอบ การประเมินของคณะกรรมการตรวจสอบแบบทั้งคณะ ประกอบด้วย 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 คือองค์ประกอบของ คณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งหัวข้อการประเมินประกอบด้วย กฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ โครงสร้างและคุณสมบัติ ของคณะกรรมการตรวจสอบ การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ การเรียนรู้และการเข้าถึงข้อมูล และส่วนที่ 2 คือ การปฏิบัติ หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งหัวข้อการประเมิน ประกอบด้วย บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการตรวจสอบ และการรายงานการปฏิบัติหน้าที่ต่อ คณะกรรมการบริษัทฯ 186

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=