โดยการประชุมจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐาน การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่ านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ที่กฎหมายก� ำหนดและตามที่หน่วยงานราชการ ที่เกี่ยวข้องประกาศ การลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ถือมติเสียงข้างมาก ซึ่งกรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งเสียง หากคะแนนเสียงเท่ากัน ประธานในที่ประชุมจะเป็นผู้ออกเสียง ชี้ขาด ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ให้ความส� ำคัญกับการ จัดการเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้ งทางผลประโยชน์ของ ผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ เป็นธรรม และโปร่งใส โดยเปิดเผย ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวอย่างครบถ้วน กรณีที่กรรมการบริษัทฯ รายใดมีส่วนได้เสียกับผลประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องที่มีการ พิจารณา กรรมการที่มีส่วนได้เสียรายนั้นจะไม่มีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ เมื่อเสร็จสิ้นการประชุม เลขานุการบริษัทเป็นผู้มีหน้าที่จัดท� ำ รายงานการประชุมเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ รับรองในการประชุมครั้งถัดไป และให้ประธานกรรมการ ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง รายงานการประชุมที่ที่ประชุม รับรองแล้วพร้อมกับเอกสารประกอบวาระการประชุมต่างๆ จะได้รับการจัดเก็บอย่างเป็นระบบทั้งในรูปแบบเอกสารกระดาษ (Hard Copy) และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ตามประเภทเอกสาร ชั้นความลับของบริษัทฯ เพื่อสะดวกในการสืบค้นอ้างอิง นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริษัทฯ ยังได้ก� ำหนดให้มีการจัดประชุมระหว่าง กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร เพื่อร่วมเสนอให้ข้อคิดเห็นและ แนวทางในการบริหารจัดการ และการด� ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และการประชุมเฉพาะกรรมการอิสระ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทบทวนบทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการอิสระอย่าง ต่อเนื่องเป็นประจ� ำทุกปี โดยในปี 2566 มีการประชุมระหว่าง กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 1 ครั้ง (วันที่ 24 กรกฎาคม 2566) และการประชุมกรรมการอิสระ 1 ครั้ง (วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566) และได้สรุปผลการประชุมเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อทราบด้วยทุกครั้ง ในปี 2566 จ� ำนวนครั้งการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการอิสระ คณะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร และ คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง รวมถึงจ� ำนวนครั้งที่กรรมการแต่ละ รายเข้าร่วมในการประชุมต่างๆ ดังแสดงตามตาราง 188
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=