GC One Report 2023 [TH]

รายงาน คณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จ� ำกัด (มหาชน) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และมีสายงานตรวจสอบภายใน ปฏิบัติหน้าที่ ตามที่ได้ก� ำหนดไว้ในกฎบัตรสายงานตรวจสอบภายใน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ และส่งเสริมให้บริษัทฯ มีการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี มีการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในที่เพียงพอ ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐานและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการด� ำเนินธุรกิจ พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลและรายงานประจ� ำปี เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และเชื่อถือต่อผู้มีส่วนได้เสีย คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ประกอบด้วย กรรมการอิสระจ� ำนวน 3 ท่าน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และ ประสบการณ์ที่หลากหลาย ทั้งด้านการบัญชี การเงิน กฎหมาย ฯลฯ คณะกรรมการตรวจสอบปฏิบัติหน้าที่อย่างอิสระ เที่ยงธรรม ตามขอบเขตความรับผิดชอบ ที่ก� ำหนดไว้ในกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ และที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้เป็นไปตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แนวปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการตรวจสอบ และหลักการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี ส� ำหรับบริษัทจดทะเบียน คณะกรรมการตรวจสอบให้การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพงานตรวจสอบภายในให้สามารถสร้างความเชื่อมั่นในระบบการควบคุม ภายในของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม รวมทั้งให้สายงานตรวจสอบภายในมีส่วนช่วยสนับสนุนการด� ำเนินงานขององค์กรไปสู่ การบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร ผ่านการด� ำเนินกิจกรรมของสายงานตรวจสอบภายใน โดยค� ำนึงถึง ประโยชน์สูงสุดของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งสามารถสรุปการปฏิบัติหน้าที่ที่ส� ำคัญของคณะกรรมการตรวจสอบในปี 2566 ได้ดังนี้ ให้ความเห็นชอบในหลักการและแนวทางการตรวจสอบภายใน ผ่านงานให้ความเชื่อมั่น (Assurance) และงานให้ค� ำปรึกษา (Advisory) ในด้านการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายในที่เพียงพอ เพื่อสนับสนุน ให้การด� ำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม ทั้งในและต่างประเทศบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ก� ำหนดไว้ สนับสนุนให้สายงานตรวจสอบภายใน พัฒนาแนวทางการตรวจสอบภายใน เพื่อยกระดับคุณภาพการตรวจสอบภายในให้สามารถ สร้างมูลค่าเพิ่มแก่องค์กร เช่น แนวทางการตรวจสอบที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategy-based Audit) เพื่อ ให้งานตรวจสอบภายในเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนการขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนตามทิศทางกลยุทธ์ของบริษัทฯ สนับสนุนให้สายงานตรวจสอบภายใน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) มาช่วยเพิ่มความรวดเร็วและครอบคลุม ในงานตรวจสอบการปฏิบัติการ (Operation Audit) โดยน� ำเสนอข้อมูลที่วิเคราะห์ออกมาเป็นรูปแบบ Analytics Dashboard และ Visualized Report ที่จะน� ำไปสู่การให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการด� ำเนินธุรกิจ อีกทั้งยังสามารถใช้ Analytics Dashboard ในการติดตามการควบคุมภายใน ในกระบวนการทางธุรกิจที่ส� ำคัญได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งภายในบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม สนับสนุนให้สายงานตรวจสอบภายใน ขยายผลการน� ำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics) เช่น Process Mining และ Machine Learning มาใช้ในงานตรวจสอบภายในกระบวนการที่ส� ำคัญของบริษัทฯ เพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติ จากข้อมูลที่เข้าหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ก� ำหนดไว้ (Detection Rule) ในการพัฒนาไปสู่การเป็นการตรวจสอบแบบอัตโนมัติ (Automated Audit) ที่สามารถตรวจพบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็วและสามารถให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการควบคุม ภายในได้อย่างทันท่วงที ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสายงานตรวจสอบภายในให้มีความรู้และทักษะที่จ� ำเป็นต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบ ภายในยุคใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งก� ำหนดกรอบการพัฒนาความรู้ (Competency Development Framework) ให้ผู้ตรวจสอบ ภายในมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ได้แก่ ความรู้ด้านธุรกิจที่สอดคล้องตามทิศทางกลยุทธ์ขององค์กร (Business Acumen) และการน� ำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานตรวจสอบภายใน (Digital & Data Acumen) รวมถึงการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ ที่จ� ำเป็นส� ำหรับงานตรวจสอบภายใน (Internal Audit Professional Practices) ให้ความส� ำคัญกับการก� ำกับดูแลและการควบคุมภายในของบริษัทในกลุ่มทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น มอบหมายให้ ผู้ตรวจสอบภายในของบริษัทฯ เข้าไปตรวจสอบร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อตรวจสอบ ระบบควบคุมภายในที่ส�ำคัญ และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสม�่ ำเสมอ รวมทั้งสนับสนุนให้สายงานตรวจสอบ ภายในจัดท� ำแบบสอบถามการควบคุมภายในส� ำหรับบริษัทในกลุ่ม เพื่อประเมินความเพียงพอของการควบคุมภายใน ในการ สร้างความเชื่อมั่นในระบบการควบคุมภายในของบริษัทในกลุ่ม สามารถสอบทานสิ่งผิดปกติและป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบการควบคุมภายในให้รัดกุมและครอบคลุมความเสี่ยงของบริษัทในกลุ่ม มากขึ้น 208

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=