ให้ความส� ำคัญเกี่ยวกับการก� ำกับดูแลงานด้านความยั่งยืนขององค์กร ให้ครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environmental), สังคม (Social), การก� ำกับดูแลกิจการ (Governance) รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นในการรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) และเน้นย�้ ำให้มีการติดตามและเตรียมความพร้อมทั้งระดับกลยุทธ์ และแนวปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามมาตรฐานใหม่ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับด้านความยั่งยืน เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM; Carbon Border Adjustment Mechanism) และมาตรฐานในการรายงานข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน (ISSB: IFRS S1 & S2) เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี 2566 มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง สรุปสาระส� ำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ตรวจสอบ ได้ดังนี้ 1. การสอบทานรายงานทางการเงิน คณะกรรมการตรวจสอบได้ติดตามดูแลให้ฝ่ายจัดการจัดท� ำรายงานทางการเงิน ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม และสอบทานข้อมูล ทางการเงินที่ส� ำคัญ ได้แก่ รายงานงบการเงินรายไตรมาส งบการเงินประจ� ำปีของบริษัทฯ รายการที่อาจมีความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจต่างๆ ประเด็นที่เป็นสาระส� ำคัญ รายการพิเศษ เป็นต้น รวมทั้งมีการสื่อสาร และรับฟังค� ำชี้แจงจาก ผู้สอบบัญชีและฝ่ายจัดการอย่างสม�่ ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่า รายงานทางการเงินมีความถูกต้อง โปร่งใส ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ รวมทั้งมีการเปิดเผยหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่างเพียงพอ เป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงได้ให้ความเห็นชอบต่อรายงานงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานและตรวจสอบแล้ว รวมถึงรายงานความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข หากพบความผิดปกติในงบการเงิน หรือพฤติการณ์อันควรสงสัยอาจกระทบกับสิทธิของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยส� ำคัญ จะรีบด� ำเนินการ ให้มีการตรวจสอบควบคู่กับการก� ำหนดมาตรการยกระดับระบบควบคุมภายใน และรายงานความคืบหน้าให้ส� ำนักงาน ก.ล.ต. ทราบ เป็นระยะจนกว่าจะมีการด� ำเนินการแล้วเสร็จ นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาให้ความเห็นชอบงานบริการประเภท NAS (Non-Assurance Service) ของผู้สอบบัญชี เพื่อให้มั่นใจว่าขอบเขตงานบริการของผู้สอบบัญชีจะไม่ส่งผลต่อความเป็นอิสระในงานสอบบัญชีของบริษัทฯ รวมทั้งได้ประชุม เป็นการเฉพาะกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการ เพื่อหารืออย่างอิสระถึงการสนับสนุนข้อมูลจากฝ่ายจัดการ การตรวจสอบข้อมูล ที่มีสาระส� ำคัญในการจัดท� ำรายงานงบการเงิน เรื่องส� ำคัญจากการตรวจสอบของงบการเงิน (Key Audit Matters) การติดตาม ก� ำหนดการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ รวมถึงมาตรฐานด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง และความเป็นอิสระ ในการปฏิบัติหน้าที่ 2. การสอบทานการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบได้รับทราบข้อมูลการบริหารความเสี่ยงองค์กรจากรายงานการบริหารความเสี่ยงที่น� ำเสนอต่อที่ประชุม คณะกรรมการบริษัทฯ และการสอบทานการบริหารความเสี่ยงจากการรายงานการตรวจสอบภายในของสายงานตรวจสอบภายใน เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯ ได้ระบุประเด็นความเสี่ยงส� ำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการด� ำเนินงานของบริษัทฯ และบริหารความเสี่ยง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผู้รับผิดชอบ มีมาตรการจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพียงพอ ครอบคลุมทุกประเด็นความเสี่ยง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 3. การสอบทานการควบคุมภายใน คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานการควบคุมภายในของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากการสอบทาน รายงานผลการตรวจสอบภายใน รายงานการด� ำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจสอบที่ด� ำเนินการโดยฝ่ายจัดการ และจากการสอบทานการควบคุมภายในด้านบัญชีและการเงินโดยผู้สอบบัญชี ซึ่งไม่พบประเด็นหรือข้อบกพร่องที่ส� ำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อรายงานทางการเงิน นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบยังได้สอบทานความเพียงพอและความเหมาะสมของ การควบคุมภายใน ตามแบบประเมินของส� ำนักงานคณะกรรมการก� ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ด� ำเนินการโดย ฝ่ายจัดการ ซึ่งไม่พบประเด็นหรือข้อบกพร่องที่ส� ำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์หลักของบริษัทฯ ท� ำให้เชื่อมั่นได้อย่างสมเหตุ สมผลว่า บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอ มีประสิทธิผล และเหมาะสมต่อการด� ำเนินธุรกิจ สามารถสนับสนุนการ ด� ำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ก� ำหนดไว้ 209 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ �กัด (มหาชน) แบบ 56-1 One Report ประจำ �ปี 2566
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=