4. การสอบทานการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี จากรายงานสรุปข้อร้องเรียนของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มที่ได้รับ เรื่องร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแสถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมผ่านช่องทาง Whistleblower หรือช่องทางอื่นๆ บริษัทฯ มีนโยบาย หรือวิธีการในการรับมือกับเรื่องร้องเรียนและปกป้องผู้แจ้งเบาะแสอย่างเหมาะสม รวมถึงการรายงานการด� ำเนินงานตามมาตรการ ต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน ที่มีการก� ำกับดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน ตามข้อก� ำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย เพื่อให้การด� ำเนินธุรกิจเป็นไปตามหลักการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี ในการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจสอบยังได้ส่งเสริมให้บริษัทในกลุ่มเข้าร่วมเป็นแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption: CAC) และสอบทานการรับรองแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้าน การคอร์รัปชัน โดยมีข้อเสนอแนะให้บริษัทฯ ด� ำเนินกิจกรรมต่อต้านคอร์รัปชันในรูปแบบใหม่ๆ เพิ่มเติม และเป็นแบบอย่างที่ดีของ บริษัทจดทะเบียนในด้านการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย 5. การก� ำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบได้ก� ำกับดูแลการด� ำเนินงานตรวจสอบภายใน ให้มีความเป็นอิสระ เที่ยงธรรม และสามารถเพิ่มคุณค่าให้ องค์กรผ่านกิจกรรมการตรวจสอบภายใน ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีในการยกระดับคุณภาพงานตรวจสอบภายใน ส่งเสริมให้ท� ำการ ติดตามการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานสากลส� ำหรับการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายในฉบับใหม่ (Global Internal Audit Standards) และจัดให้มีการประเมินคุณภาพการตรวจสอบภายในตามมาตรฐานวิชาชีพสากล และประเมินระดับ Internal Audit Maturity จากหน่วยงานภายนอกที่มีความช� ำนาญและไม่มีส่วนได้เสีย เพื่อประเมินคุณภาพงานตรวจสอบภายใน หรือ Quality Assessment Review (QAR) อย่างสม�่ ำเสมอ ให้ความเห็นชอบกลยุทธ์ เป้าหมายของสายงานตรวจสอบภายใน และแผนการตรวจสอบ ภายในประจ� ำปีที่ค� ำนึงถึงความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอก (Risk-based Approach) ควบคู่กับการสนับสนุนทรัพยากรบุคคลให้ พัฒนาความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความเข้าใจในกิจการของบริษัทฯ และได้จัดสรรงบประมาณให้อย่างเพียงพอและ เหมาะสม นอกจากนี้ ยังสอบทานและรับทราบสิ่งที่ตรวจพบจากรายงานการตรวจสอบภายใน ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ รวมถึงติดตามการแก้ไขสิ่งตรวจพบในประเด็นที่มีนัยส� ำคัญอย่างสม�่ ำเสมอ 6. การสอบทานการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานการด� ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อก� ำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายอื่นๆ ทั้งกฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการด� ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม ผ่านรายงานการตรวจสอบภายใน รวมทั้งเน้นย�้ ำให้ติดตามกฎหมายใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ในอนาคต และที่อาจส่งผลกระทบ ต่อธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้บริษัทฯ ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามกฎหมายและมาตรฐานสากลใหม่ 7. การพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาความเหมาะสมของเกณฑ์การคัดเลือกผู้สอบบัญชี ในกระบวนการคัดเลือกและเสนอแต่งตั้ง ผู้สอบบัญชี โดยพิจารณาจากคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการตรวจสอบธุรกิจของผู้สอบบัญชี แนวทางตรวจสอบ ผลการปฏิบัติงาน และความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี ตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ก� ำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชี และตามแนวทางที่ส� ำนักงานคณะกรรมการก� ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงพิจารณาความเหมาะสมของค่าสอบบัญชี โดยคณะกรรมการตรวจสอบน� ำเสนอการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และค่าสอบบัญชีให้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบ เพื่อเสนอในที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นต่อไป ในปี 2566 ผู้ถือหุ้นมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จ� ำกัด (KPMG) เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ประจ� ำปี 2566 210
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=