GC One Report 2023 [TH]

รายงาน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เรียน ท่านผู้ถือหุ้น ปี 2566 นับเป็นอีกปีที่บริษัทฯ เผชิญความท้าทายจากสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจที่ซับซ้อนยากต่อการคาดการณ์ และไม่สามารถ หลีกเลี่ยงได้หลายประการ อาทิ ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยังไม่คลี่คลาย และสงครามระหว่างอิสราเอลกับขบวนการฮามาส ตลอดจนความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผล ท� ำให้ราคาผลิตภัณฑ์และส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์กับราคาวัตถุดิบมีความผันผวนสูง บริษัทฯ ได้พยายามน� ำมาตรการต่างๆ เข้ามาบริหารจัดการ และลดผลกระทบจากความเสี่ยงต่อเป้าหมายในด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถก้าวผ่านวิกฤต รักษาความสามารถ ในการแข่งขัน และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ติดตาม ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อการบริหารความเสี่ยงและการจัดการกับภาวะวิกฤต อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมประเด็นความเสี่ยงที่ส� ำคัญทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนปัจจัยความเสี่ยงใหม่ที่อาจกระทบกับ การด� ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในอนาคต เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพอันจะช่วยบรรเทา ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยง รวมถึงได้มาซึ่งโอกาสทางธุรกิจ สามารถสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดทั้งปี 2566 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขต อ� ำนาจ และหน้าที่ที่ระบุในกฎบัตรของคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยงอย่างครบถ้วน โดยได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงรวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง เพื่อพิจารณา ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และรับทราบวาระต่างๆ โดยสรุป ดังนี้ ติดตาม ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อรายงานความก้าวหน้า การบริหารความเสี่ยงองค์กร ซึ่งประกอบด้วย สรุปสถานการณ์ ปัจจัยภายนอก แนวโน้มความเสี่ยง สรุปสถานะความเสี่ยงระดับองค์กรปี 2566 และ 2570 และมาตรการบริหารจัดการความเสี่ยง พร้อมทั้งรายงานผลการด� ำเนินงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงให้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้รับทราบเป็นประจ� ำ เพื่อให้มั่นใจว่ามีมาตรการในการรับมือที่เพียงพอ เหมาะสม และทันเวลา รวมถึงได้มาซึ่งโอกาสทางธุรกิจอันจะสร้างคุณค่า ให้กิจการอย่างยั่งยืน ให้ข้อแนะน� ำและติดตามผลการเข้าท� ำการบริหารความเสี่ยงด้านราคาและส่วนต่างราคาของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์โดยใช้ ตราสารอนุพันธ์ (Commodity Hedging) รวมถึงการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (FX Hedging) เป็นประจ� ำทุกเดือน เพื่อให้มีมาตรการที่ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับสถานการณ์ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อมาตรการบริหารความเสี่ยงของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ส� ำคัญ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบ การตัดสินใจโดยคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณากลั่นกรองความเสี่ยงและมาตรการจัดการความเสี่ยงในปี 2567 และ 2571 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ จะสามารถบริหาร ความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และเป็นไปตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่ก� ำหนดไว้ สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ แนวโน้มอุตสาหกรรม และแนวทางการด� ำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ จะสามารถบรรลุเป้าหมายตามกลยุทธ์ และเป้าหมายทางธุรกิจภายใต้สถานการณ์ที่มีความผันผวนและซับซ้อนมากขึ้นได้ พิจารณาทบทวนข้อมูลการบริหารความเสี่ยงและปัจจัยความเสี่ยงในแบบแสดงรายการข้อมูลประจ� ำปี เพื่อสร้างความมั่นใจต่อ ผู้ถือหุ้นว่าบริษัทฯ มีแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยง การวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงส� ำคัญต่อเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และเป้าหมายทางธุรกิจ และมีมาตรการบริหารจัดการที่เพียงพอ พิจารณาทบทวนเนื้อหากฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง นโยบายการบริหารความเสี่ยง ระดับความเสี่ยงที่องค์กร ยอมรับได้ กรอบและแนวปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร กรอบการบริหาร ความเสี่ยงด้านราคาและส่วนต่างราคา กรอบการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน กรอบการบริหารความเสี่ยงบริษัท ในกลุ่ม และกรอบการบริหารความเสี่ยงด้านการลงทุน เพื่อให้มีความยืดหยุ่น เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ 219 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ �กัด (มหาชน) แบบ 56-1 One Report ประจำ �ปี 2566

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=