GC One Report 2023 [TH]

4. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication) บริษัทฯ ได้ให้ความส� ำคัญเรื่องคุณภาพของระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเป็นส่วนส� ำคัญที่สนับสนุนให้ การควบคุมภายในสามารถด� ำเนินไปอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งมี แนวทางบริหารจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนี้ บริษัทฯ มีการบริหารจัดการข้อมูล โดยการก� ำหนดชั้น ความลับของข้อมูล วางแนวทางการจัดเก็บเอกสารส� ำคัญ และเอกสารควบคุม รวมถึงข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงาน จากทั้งภายในและภายนอก เพื่อให้มั่นใจว่าสารสนเทศ ที่ส� ำคัญและเกี่ยวข้องกับการด� ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มีความถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และ ทันต่อการใช้งาน ดังนี้ บริษัทฯ น� ำซอฟต์แวร์ เช่น SAP ECC 6.0, Salesforce เป็นต้น มาใช้งานในการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ ช่วยลดความซ�้ ำซ้อนของข้อมูลในการใช้งานของระบบ สารสนเทศขนาดเล็ก (Legacy System) ที่มีอยู่ จ� ำนวนมาก สามารถสรุปผลรายงานต่อฝ่ายบริหาร ได้อย่างรวดเร็ว บริษัทฯ ได้พัฒนาโปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้เป็นศูนย์กลาง ในการจัดการ จัดเก็บ และเชื่อมโยงข้อมูลให้เกิด ประโยชน์สูงสุด และสามารถน� ำไปต่อยอดและสืบค้น ข้อมูลอ้างอิงได้ในอนาคต เช่น รวบรวมข้อมูลโครงการ พัฒนาปรับปรุงการด� ำเนินงานต่างๆ รวมถึงข้อมูล โครงการลงทุนของบริษัทฯ ในระบบ Idea MANI (Multi Access for New Initiatives) เป็นต้น ในปี 2566 บริษัทฯ ได้น� ำ Generative AI โมเดลภาษาปัญญา ประดิษฐ์ขั้นสูงมาใช้งาน โดยเป็นการท� ำงานอยู่บน สภาพแวดล้อมของบริษัทฯ ภายใต้การดูแลความ ปลอดภัยของข้อมูล ป้องกันไม่ให้ข้อมูลองค์กรรั่วไหล ไปสู่สาธารณะ โดยมีการให้ความรู้แก่พนักงาน เกี่ยวกับการใช้งานอย่างมีจริยธรรมก่อนเริ่มใช้งาน เพื่อช่วยพัฒนาการท� ำงาน ประมวลผล ค้นหาหรือ สอบถามข้อมูลขององค์กร และน� ำข้อมูลที่ได้มา ต่อยอดการท� ำงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม บริษัทฯ ประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมทั้งตั้งหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการด� ำเนินงานด้าน การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการเฉพาะ และ น� ำระบบการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ในการ จัดการภายในบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้จัดท� ำคู่มือที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทฯ เพื่อให้มีความชัดเจนใน การน� ำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้อง กับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บริษัทฯ ได้จัดให้มีการก� ำกับดูแลข้อมูล (Data Governance) เพื่อให้การได้มาและการน� ำไปใช้ข้อมูล ของบริษัทฯ มีประสิทธิภาพ พร้ อมใช้ งานและ มีการรักษาความลับของข้อมูล บริษัทฯ จึงให้ความ ส� ำคัญกับ 4 องค์ประกอบหลัก ที่ช่วยให้การก� ำกับดูแล และบริหารจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1) การก� ำหนดและประกาศใช้นโยบายการก� ำกับดูแล ข้อมูล มาตรฐาน และกระบวนการจัดการตลอดวงจร ชีวิตของข้อมูล 2) การพัฒนาเทคโนโลยีในการบริหาร จัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Management System) เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัทฯ 3) การ ส่งมอบข้อมูลส� ำคัญให้แก่ผู้ใช้งาน เพื่อน� ำไปใช้งาน อย่างมีประสิทธิภาพ และ 4) การสร้างการรับรู้และ ความเข้าใจในการก� ำกับดูแลข้อมูลให้กับพนักงาน ผ่านการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ก� ำหนดแนวปฏิบัติด้าน Data Governance เป็น ขั้นตอนหนึ่งของการพัฒนา Digital Use-Case เพื่อ ให้การพัฒนาระบบหรือแอปพลิเคชันต่างๆ มีการ จัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม บริษัทฯ พัฒนาและส่งเสริมการท� ำ Advance Analytics ในองค์กร โดยให้ความรู้ผ่านการเรียนรู้หลักสูตร Data Science & Engineering Program และการสอนวิธี ใช้ Digital Tools ต่างๆ ในการท� ำงาน เช่น Power BI, Power Automate, Alteryx นอกจากนี้ ยังมี การจัด Inspiration Talk เพื่อส่งเสริมในเรื่อง Data Mindset และจัดท� ำโครงการ Data DIY เพื่อเปิด โอกาสให้พนักงานสามารถส่งผลงานการจัดการข้อมูล ด้วยการใช้ Digital Tools ต่างๆ ที่ได้ลองลงมือ ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ผนวกกับการน� ำเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) มาใช้ เพื่อเป็นเครื่องมือใน การวิเคราะห์ ติดตาม คาดการณ์ให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว แม่นย� ำ และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการ ตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การวิเคราะห์ ข้อมูลการทดสอบตัวอย่างใน Lab (Lab Data Analysis) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท� ำงาน ช่วยจัดการเวลา และ ลดขั้นตอนการท� ำงาน การวิเคราะห์พฤติกรรมและ ความต้องการของผู้บริโภค (Customer Behavior Analytics) ซึ่งช่วยให้สามารถน� ำผลลัพธ์มาวางแผน การตลาดและการขาย ตลอดจนการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย การจัดซื้อ เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิง กลยุทธ์ ลดต้นทุนด้านการจัดซื้อสินค้าหรือบริการที่ ไม่ใช่วัตถุดิบ (Non-feedstock) เป็นต้น 226

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=