สถานการณ์เศรษฐกิจ ภาพรวมสถานการณ์ในปี 2566 เศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในภาวะ ชะลอตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า แม้จะได้รับแรงส่งจากการฟื้นตัว ของภาคบริการ แต่ภาคการผลิตยังมีแนวโน้มชะลอตัวสอดคล้อง กับอุปสงค์โลกที่ปรับลดลงจากความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อที่ อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง นอกจากนี้ การที่ธนาคารกลางหลาย ประเทศด� ำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ผ่านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้เผยให้เห็นถึงความ เปราะบางในระบบการเงิน อีกทั้งยังส่งผลท� ำให้ต้นทุนของ ภาคธุรกิจและครัวเรือนสูงขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศจีน ยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่คาด และยังต้องเผชิญกับปัญหาในภาค อสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่แนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2567 ยังมีแนวโน้ม ชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2566 เนื่องจากการเผชิญกับความท้าทาย ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น เช่น วิกฤตในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของ ประเทศจีน ความเชื่อมั่นทางธุรกิจและผู้บริโภคที่ลดลง หรือ ภาวะการเงินที่ตึงตัวซึ่งส่งผลต่ออุปสงค์ มีผลท� ำให้สถานการณ์ ทางเศรษฐกิจทั่วโลกเกิดความไม่แน่นอน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ผันผวน นอกจากนี้ ความแตกแยกทางภูมิรัฐศาสตร์ยังคงเป็น ปัจจัยเสี่ยงที่ส� ำคัญ ทั้งจากความยืดเยื้อของสถานการณ์สงคราม ในรัสเซียและยูเครน และประเด็นการสู้รบระหว่างอิสราเอลและ ฮามาสที่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งหาก เกิดเหตุความรุนแรงจะมีผลท� ำให้กระทบต่อการขยายตัวทาง เศรษฐกิจโลก และอัตราเงินเฟ้อที่อาจเพิ่มขึ้น จึงมีผลท� ำให้การ เติบโตทั่วโลกโดยรวมยังอยู่ในระดับต�่ ำ จากปัจจัยที่กล่าวมา คาดว่าการเติบโตจะชะลอตัวจากร้อยละ 3.5 ในปี 2565 เป็น ร้อยละ 3.0 ในปี 2566 และร้อยละ 2.9 ในปี 2567 (IMF ตุลาคม 2566) อย่างไรก็ตาม คาดว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ คลี่คลายอย่างช้าๆ ในช่วงครึ่งปีหลัง จากมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของนานาชาติ และแนวโน้มภาคการผลิตที่เริ่ม ปรับตัวดีขึ้น ท� ำให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจเริ่มมีทิศทางดีขึ้น อย่างค่อยเป็นค่อยไป สถานการณ์ตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์ ปิโตรเคมีขั้นต้น (Upstream) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและสาธารณูปการ สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมและสาธารณูปการปี 2566 สถานการณ์ราคาตลาดน�้ ำมันดิบในปี 2566 มีการปรับลดลง จากปี 2565 เนื่องจากการบรรเทาความรุนแรงของเหตุการณ์ สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่เกิดขึ้นในปี 2565 ท� ำให้ลดความกังวล ต่ออุปทานภาคพลังงาน โดยรัสเซียยังคงส่งออกน�้ ำมันไป ประเทศอื่นๆ ทดแทนยุโรปได้ ขณะที่ยังคงมีปัจจัยกดดันทาง เศรษฐกิจทั่วโลก ทั้งอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย วิกฤตภาค ธนาคาร วิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยดัชนีทางเศรษฐกิจ ต่างๆ ที่อ่อนแอ โดยเฉพาะประเทศจีนและยุโรป ส่งผลกดดัน ต่อราคาน�้ ำมัน และความต้องการใช้น�้ ำมันในปี 2566 ในขณะที่ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ บริโภคน�้ ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ โดย หลังจากที่ได้มีการเปิดประเทศ ยังคงมีภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ความกังวลทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้ น�้ ำมัน ท� ำให้กลุ่มโอเปกและพันธมิตร (โอเปกพลัส) ได้ประกาศ ลดก� ำลังการผลิตต่อเนื่องเพื่อรักษาสมดุลของราคา โดย ซาอุดีอาระเบียประกาศปรับลดก� ำลังการผลิตน�้ ำมันจ� ำนวน 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงสิ้นปี 2566 ขณะที่รัสเซียประกาศปรับลดการส่งออกน�้ ำมันลง 300,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงสิ้นปี 2566 เช่นกัน โดยส่งสัญญาณชัดเจน เพื่อการรักษาสมดุลของราคา นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2566 เกิดความไม่สงบในภูมิภาคตะวันกลาง จากการสู้รบ ระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธใน ปาเลสไตน์ จึงส่งผลบวกต่อราคาน�้ ำมัน เนื่องจากความกังวล เหตุการณ์ความไม่สงบจะขยายตัวไปยังประเทศอื่นๆ ใน ภูมิภาคตะวันออกกลางซึ่งเป็นแหล่งผลิตน�้ ำมันดิบส� ำคัญ ของโลก ดังนั้น จากภาวะตลาดน�้ ำมันที่ตึงตัวส่งผลให้ราคา น�้ ำมันดิบได้ปรับสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3 และ 4 ทั้งนี้ ราคาน�้ ำมันดิบ ดูไบเฉลี่ยในปี 2566 อยู่ที่ 82.1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ลดลง 14.2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เมื่อเทียบกับปี 2565 ตลาด และภาวะการแข่งขัน 67 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ �กัด (มหาชน) แบบ 56-1 One Report ประจำ �ปี 2566
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=