สถานการณ์ราคาและส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในปี 2567 คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงเช่นกันเมื่อเทียบกับปี 2566 เนื่องจากปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจ รวมถึงผลพวงของอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับสูง ที่ส่งผลต่อการแข็งค่าของเงิน ดอลลาร์ เป็นปัจจัยกดดันต่ออุปสงค์ชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ขณะที่อุปทานของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยปี 2567 คาดว่าจะมีโรงกลั่นใหม่เริ่มเดินเครื่องการผลิต โดยมีก� ำลังการผลิตรวมกันถึง 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 0.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับปี 2566 จึงคาดการณ์ ค่าการกลั่น (GRM) ในปี 2567 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับ ปี 2566 ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ สถานการณ์ตลาด ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ปี 2566 อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์พาราไซลีนและเบนซีน ได้รับแรงกดดัน จากสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ท� ำให้ความต้องการ ผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง โดยก� ำลังการผลิตของผู้ผลิตในกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ปลายทางของพาราไซลีน (Paraxylene Value Chain) ได้แก่ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กรดเทเรฟทาลิกบริสุทธิ์ (PTA) และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET Resin) มีการควบคุมการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาอัตราการท� ำ ก� ำไร เนื่องจากความต้องการในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอมีความ ต้องการลดลง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมของสายผลิตภัณฑ์ เบนซีน โดยเฉพาะโรงงานสไตรีนโมโนเมอร์ (SM) หลายแห่ง ในภูมิภาคเอเชียและยุโรปมีการลดก� ำลังการผลิต และบางราย หยุดเดินเครื่องการผลิตเนื่องจากไม่คุ้มทุน ท� ำให้อุปสงค์ของ ผลิตภัณฑ์เบนซีนปรับตัวลดลง ในขณะที่ด้านอุปทาน ก� ำลังการผลิตผลิตภัณฑ์พาราไซลีนใน ตลาดโลกปี 2566 อยู่ที่ 80.2 ล้านตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 7.5 ล้านตัน และก� ำลังการผลิตเบนซีนในตลาดโลกปี 2566 อยู่ที่ 78.8 ล้านตัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 4.2 ล้านตัน จากปี 2565 โดยก� ำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นมาจากประเทศจีนเป็น ส่วนใหญ่ จากนโยบายพึ่งพาการผลิตในประเทศและลดการ น� ำเข้าจากต่างประเทศ โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ตลาด ผลิตภัณฑ์พาราไซลีนมีปัจจัยสนับสนุนในเรื่องการเลื่อนการ ผลิตเชิงพาณิชย์ของก� ำลังการผลิตใหม่ในประเทศจีน ส่งผลให้ ส่วนต่างราคาระหว่างผลิตภัณฑ์พาราไซลีนและแนฟทา และ ส่วนต่างราคาระหว่างผลิตภัณฑ์เบนซีนและแนฟทาปรับตัวเพิ่ม สูงขึ้น นอกจากนั้น ในช่วงไตรมาสที่ 3 ตลาดผลิตภัณฑ์พาราไซลีน และเบนซีนได้รับปัจจัยสนับสนุนจากตลาดแก๊สโซลีน (Gasoline) ในสหรัฐฯ ท� ำให้มีความต้องการผลิตภัณฑ์รีฟอร์เมท (Reformate) และมิกซ์ไซลีนส์ (Mixed-xylene) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ เพื่อน� ำไปใช้ใน Gasoline Blending ส่งผลให้วัตถุดิบขาดแคลน ประกอบกับมีการหยุดซ่อมบ� ำรุง ฉุกเฉินของผู้ผลิตหลักในประเทศจีน จึงเป็นปัจจัยสนับสนุน ตลาดผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ โดยในปี 2566 ส่วนต่างราคา ระหว่างผลิตภัณฑ์พาราไซลีนและแนฟทาเฉลี่ยปี 2566 อยู่ที่ 389 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน จากปี 2565 และส่วนต่างราคาระหว่างผลิตภัณฑ์เบนซีน และแนฟทาเฉลี่ยปี 2566 อยู่ที่ 248 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับเพิ่มขึ้น 4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน จากปี 2565 แนวโน้มสถานการณ์ตลาด ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ปี 2567 แนวโน้มสถานการณ์ตลาดพาราไซลีนและเบนซีนปี 2567 คาดว่าอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ยังคงมีปัจจัยกดดันจากสถานการณ์ เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น ความต้องการของผลิตภัณฑ์พาราไซลีนในกลุ่มสินค้า ปลายทางที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ ในขณะที่ด้าน อุปทาน ตลาดพาราไซลีนจะมีก� ำลังการผลิตใหม่เพิ่มขึ้น ประมาณ 0.8 ล้านตัน และตลาดเบนซีนจะมีก� ำลังการผลิตใหม่ เพิ่มขึ้นประมาณ 1.8 ล้านตัน ซึ่งลดลงจากปี 2566 อย่างมี นัยส� ำคัญ อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งปีหลังของ ปี 2567 สถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และ ผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนต่อเนื่องจาก ในปี 2566 จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ภาพรวมตลาดอยู่ในระดับสูง แต่ต�่ ำกว่าในปี 2566 ท� ำให้คาดว่าส่วนต่างราคาพาราไซลีน และแนฟทา และส่วนต่างราคาเบนซีนและแนฟทาในปี 2567 มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2566 ผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ สถานการณ์ตลาด ผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ปี 2566 สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์เอทิลีนและโพรพิลีนในช่วงไตรมาส ที่ 1 ของปี 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลาย นโยบายการควบคุมโรคของประเทศจีน ท� ำให้อุปสงค์และราคา ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 2 ได้รับปัจจัย กดดันจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง รวมถึงอุปสงค์ของประเทศ จีนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ ประกอบกับการขยายก� ำลัง การผลิตของผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชียประมาณ 2.7 ล้านตัน ส� ำหรับตลาดผลิตภัณฑ์เอทิลีน และ 2.4 ล้านตันส� ำหรับตลาด ผลิตภัณฑ์โพรพิลีน ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์เอทิลีนและโพรพิลีน ได้ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยส� ำคัญในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 ในช่วงไตรมาสที่ 3 สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์เอทิลีนและ โพรพิลีนได้ถูกกดดันอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายก� ำลังการผลิตของผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชีย 69 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ �กัด (มหาชน) แบบ 56-1 One Report ประจำ �ปี 2566
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=