ผลิตภัณฑ์กลุ่มฟีนอล สถานการณ์ตลาด ผลิตภัณฑ์ฟีนอลปี 2566 สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์ฟีนอลและอะซีโทน (ผลิตภัณฑ์ พลอยได้จากการผลิตฟีนอล) ในไตรมาสที่ 1 ได้รับปัจจัยกดดัน ด้านอุปสงค์จากผลิตภัณฑ์ปลายทางเกิดการชะลอตัวจาก สภาวะทางเศรษฐกิจ ประกอบกับก� ำลังการผลิตใหม่ในประเทศจีน 0.6 ล้านตันต่อปีที่เข้ามาในช่วงต้นปี 2566 ส่งผลให้อุปทาน ผลิตภัณฑ์ฟีนอลและอะซีโทนปรับตัวสูงขึ้น และท� ำให้ราคา ผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง จนท� ำให้ผู้ผลิตหลายรายประกาศ ควบคุมก� ำลังการผลิต ในขณะที่ไตรมาสที่ 3 ได้รับปัจจัย สนับสนุนจากแผนการหยุดซ่อมบ� ำรุงของผู้ผลิตฟีนอลใน ภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้อุปทานผลิตภัณฑ์ฟีนอลและอะซีโทน ปรับตัวลดลงและท� ำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ใน ไตรมาสที่ 4 ได้มีก� ำลังการผลิตใหม่ในประเทศจีน 1.3 ล้านตัน ต่อปี ส่งผลให้อุปทานผลิตภัณฑ์ฟีนอลปรับตัวสูงขึ้นและท� ำให้ ราคาผลิตภัณฑ์ปรับลดลงอีกครั้ง จากปัจจัยต่างๆ ส่งผลให้ ราคาผลิตภัณฑ์ฟีนอลเฉลี่ยปี 2566 อยู่ที่ 978 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัวลดลง 331 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อเทียบกับ ปี 2565 ในขณะที่ส่วนต่างราคาระหว่างผลิตภัณฑ์ฟีนอลและ เบนซีนอยู่ที่ 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัวลดลง 201 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ราคาผลิตภัณฑ์ อะซีโทนเฉลี่ยปี 2566 อยู่ที่ 762 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัว เพิ่มขึ้น 65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ส� ำหรับสถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์บิสฟีนอล เอ (Bisphenol A) ได้รับปัจจัยกดดันเช่นเดียวกับตลาดผลิตภัณฑ์ฟีนอลและอะซีโทน โดยอุปสงค์จากผลิตภัณฑ์โพลิคาร์บอเนตและอีพ็อกซี่เรซิน ปรับตัวลดลงเนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับ ก� ำลังการผลิตใหม่ในประเทศจีนเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านตันต่อปี ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์บิสฟีนอล เอ ปรับลดลงอย่างมีนัยส� ำคัญ ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์บิสฟีนอล เอ เฉลี่ยปี 2566 อยู่ที่ 1,272 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัวลดลง 585 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ในขณะที่ส่วนต่างราคาระหว่างผลิตภัณฑ์ บิสฟีนอล เอ และฟีนอลอยู่ที่ 294 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัวลดลง 254 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 แนวโน้มสถานการณ์ตลาด ผลิตภัณฑ์ฟีนอลปี 2567 สถานการณ์ตลาดกลุ่มฟีนอลปี 2567 คาดว่าอุปสงค์ของ ผลิตภัณฑ์ฟีนอล อะซีโทน และบิสฟีนอล เอ ยังคงมีปัจจัยกดดัน จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัวในช่วงครึ่งปีแรก และจะค่อยๆ มีทิศทางดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง จากนโยบาย มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ก� ำลัง การผลิตใหม่ในประเทศจีนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีก� ำลัง การผลิตฟีนอลเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านตันต่อปี ก� ำลังการผลิตอะซีโทน เพิ่มขึ้น 0.7 ล้านตันต่อปี และก� ำลังการผลิตบิสฟีนอล เอ เพิ่มขึ้น 1.7 ล้านตันต่อปี ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันผลิตภัณฑ์กลุ่ม ฟีนอลได้ ส่งผลให้ส่วนต่างราคาของผลิตภัณฑ์กลุ่มฟีนอลในปี 2567 มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2566 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางอื่นๆ สถานการณ์ตลาด ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางอื่นๆ ปี 2566 สถานการณ์ตลาดของผลิตภัณฑ์กรดเทเรฟทาลิกบริสุทธิ์ ปี 2566 ความต้องการมีการฟื้นตัวในอัตราที่ต�่ ำกว่าการคาดการณ์ โดยไม่ถึงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับคาดการณ์ที่ร้อยละ 4-5 สาเหตุ จากสภาวะทางเศรษฐกิจภายในประเทศจีน มีการชะลอตัวและ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย อีกทั้งการส่งออกสินค้าต่างๆ ไปยัง ประเทศปลายทาง เช่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีการเติบโต ในอัตราที่ลดลง อันเป็นผลกดดันจากอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ ในขณะที่ก� ำลังการผลิตใหม่อยู่ในระดับ ที่มากกว่า 10 ล้านตันต่อปี ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ กรดเทเรฟทาลิกบริสุทธิ์อยู่ที่ 779 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัวลดลง 66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน และส่วนต่างระหว่าง ราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบอยู่ที่ 84 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือ ลดลงเกือบ 200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์โพรพิลีนออกไซด์ในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2566 ได้รับปัจจัยกดดันจากอุปสงค์ของ ผลิตภัณฑ์ปลายทางที่ชะลอตัวจากสถานการณ์เศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายก� ำลังการผลิต โดยเฉพาะในประเทศจีน ที่มีก� ำลังการผลิตเพิ่มมากขึ้น 1 ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของก� ำลังการผลิตของโลกในปี 2566 ส่งผลให้ราคา ผลิตภัณฑ์โพรพิลีนออกไซด์ปรับตัวลดลง และส่วนต่างราคา ผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบอยู่ในระดับที่ต�่ ำ ท� ำให้ผู้ผลิตในเอเชีย ปรับลดก� ำลังการผลิตเพื่อควบคุมการผลิต อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ยังคงไม่เห็นการฟื้นตัวของ อุปสงค์อย่างมีนัยส� ำคัญ และยังมีก� ำลังการผลิตใหม่ในประเทศจีน ที่มีการเลื่อนการผลิตเชิงพาณิชย์มาเริ่มเดินเครื่องในช่วง ไตรมาสที่ 4 โดยมีก� ำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 0.7 ล้านต่อปี ส่งผล ให้ราคาผลิตภัณฑ์โพรพิลีนออกไซด์ในภูมิภาคเอเชียเฉลี่ยปี 2566 ปรับตัวลดลงจากปี 2565 มาอยู่ที่ 1,053 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์อะคริโลไนไตรล์ปี 2566 ยังคง ซบเซาอย่างต่อเนื่อง โดยความต้องการของผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 6.2 ล้านตัน และมีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 1.1 ซึ่งใกล้เคียง กับปี 2565 ประกอบกับอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ปลายน�้ ำ เช่น Acrylonitrile Butadiene Styrene (ABS), Acrylic Fiber (AF), Acrylonitrile Butadiene Rubber Latex (NBL) ยังคงไม่ฟื้นตัว เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังชะลอตัวและนโยบายการเงิน 71 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ �กัด (มหาชน) แบบ 56-1 One Report ประจำ �ปี 2566
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=