GC One Report 2023 [TH]

จากปัจจัยทางเศรษฐกิจข้างต้น ส่งผลให้ภาพรวมสถานการณ์ ตลาดผลิตภัณฑ์โพลิเอทิลีน (Polyethylene, PE) ในปี 2566 อ่อนแอลงจากปี 2565 เล็กน้อย ความต้องการผลิตภัณฑ์ โพลิเอทิลีนทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านตัน มาอยู่ที่ระดับ 116.6 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับปี 2565 โดย อุปสงค์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบมากที่สุดจาก สภาวะเศรษฐกิจถดถอย คาดปรับตัวลดลงราว 0.4 ล้านตัน ในขณะที่ก� ำลังการผลิตผลิตภัณฑ์โพลิเอทิลีนปรับเพิ่มขึ้น 7 ล้านตัน มาอยู่ที่ระดับ 147.4 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับปี 2565 จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ส่วนต่าง ระหว่างราคาผลิตภัณฑ์ HDPE, LLDPE, LDPE และแนฟทา ปี 2566 อยู่ที่ 394, 364 และ 392 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัวลดลงจากปี 2565 ประมาณ 24, 59 และ 251 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ตามล� ำดับ สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์โพลิโพรพิลีน (Polypropylene, PP) ยังมีความท้าทายอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทาง ภูมิรัฐศาสตร์ในหลายประเทศ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงอย่าง ต่อเนื่อง และภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิด ความผันผวนของราคาน�้ ำมันดิบ อีกทั้งประเทศจีนได้มีนโยบาย จากภาครัฐที่สนับสนุนให้เกิดการพึ่งพาตัวเอง (Self-Sufficiency) รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์โพลิโพรพิลีนในภูมิภาคปรับตัวลดลง อย่างมาก โดยราคาอ้างอิง PP Homo Injection CFR SEA เฉลี่ยปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ใน ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบหลักถูกผลักดันด้วยราคาน�้ ำมันดิบและ พลังงานที่สูงขึ้น มีผลให้ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์โพลิโพรพิลีน และแนฟทาเฉลี่ยในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ลดลงอย่างต่อเนื่อง สู่ระดับประมาณ 300 เหรียญสหรัฐฯ จากส่วนต่างราคาเฉลี่ย 340 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในปี 2566 และ 400 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในปี 2565 สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate, PET) ในปี 2566 ถูกกดดันจากภาวะทาง เศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงความต้องการของสินค้าอุปโภค บริโภคและผลิตภัณฑ์ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต ซึ่งเป็น บรรจุภัณฑ์หลัก ในขณะที่ด้านอุปทาน สถานการณ์ตลาดถูก กดดันจากก� ำลังการผลิตใหม่ขนาดใหญ่ในประเทศจีนที่ออกมา อย่างต่อเนื่องหลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย โดยมีก� ำลัง การผลิตใหม่โดยรวมเพิ่มขึ้นกว่า 5 ล้านตันต่อปี เป็นผลให้ ส่ วนต่ างราคาผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบลดลงมาอยู่ ที่ 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งลดลง 86 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อ เทียบกับปี 2565 โดยมีราคาผลิตภัณฑ์เฉลี่ยประมาณ 925 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งลดลง 172 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อ เทียบกับปี 2565 ที่ผ่านมา สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์โพลิสไตรีน (Polystyrene, PS) ในปี 2566 ชะลอตัวกว่าปี 2565 โดยผลิตภัณฑ์โพลิสไตรีน ประเภท General Purpose Polystyrene (GPPS) ซึ่งใช้ใน การผลิตบรรจุภัณฑ์ อาหารยังมีความต้ องการต่ อเนื่อง จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาซื้ออาหารแบบกลับบ้านหรือการ สั่งอาหารแบบดิลิเวอรี ในขณะที่ความต้องการประเภท High Impact Polystyrene (HIPS) ซึ่งใช้ในการผลิตสินค้ากลุ่ม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เกิดการชะลอตัวจากผู้บริโภค ที่มีก� ำลังซื้อน้อยลง โดยในภาพรวมความต้องการผลิตภัณฑ์ โพลิสไตรีนทั่วโลกปรับลดลง 0.3 ล้านตัน มาอยู่ที่ระดับ 10.69 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 2.5 ในขณะที่ก� ำลังการผลิต ผลิตภัณฑ์โพลิสไตรีนปรับเพิ่มขึ้นมากประมาณ 0.9 ล้านตัน มาอยู่ที่ระดับ 16.6 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ท� ำให้ ส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์โพลิสไตรีนเทียบราคาวัตถุดิบ สไตรีนโมโนเมอร์ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 158 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับตัวลดลง 87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ราคาผลิตภัณฑ์ กลุ่ม GPPS ในปี 2566 อยู่ที่ 1,215 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับลดลง 255 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน และราคาผลิตภัณฑ์กลุ่ม HIPS อยู่ที่ 1,311 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ปรับลดลง 255 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 แนวโน้มสถานการณ์ตลาด ผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ปี 2567 ภาพรวมของตลาดโพลิเมอร์คาดการณ์ปริมาณความต้องการ ผลิตภัณฑ์จะฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ น� ำโดย ประเทศกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ และประเทศจีน ในขณะเดียวกันตลาดยังคงมีความผันผวนและถูกกดดันจาก สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และก� ำลังการผลิตใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ตลาดผลิตภัณฑ์โพลิเอทิลีนในปี 2567 คาดว่า ความต้องการเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.5 ล้านตัน มาอยู่ที่ 120.2 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 โดยความต้องการเม็ดพลาสติกคาดได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก มาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของแต่ละประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม คาดว่าสภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการด� ำเนิน นโยบายทางการเงินเพื่อบริหารจัดการอัตราเงินเฟ้อของ ธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึงความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ ในภูมิภาคยุโรปและตะวันออกกลาง จะยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ กดดันตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณ การผลิตใหม่จากประเทศจีน อินเดีย และสหรัฐฯ เข้ามาใน ตลาดประมาณ 2.0 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม แม้จะถูกกดดันจาก ปัจจัยดังกล่าว แต่คาดว่าสภาพเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวใน ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567 ท� ำให้ส่วนต่างราคาโพลิเอทิลีนและ แนฟทาในปี 2567 มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 73 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำ �กัด (มหาชน) แบบ 56-1 One Report ประจำ �ปี 2566

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=