การบริหารจัดการ ความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยงและปัจจัยความเสี่ยง (Risk Management and Risk Factors) การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ในปี 2566 บริษัทฯ เผชิญกับความท้าทายท่ามกลางกระแส การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของปัจจัยแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง สถานการณ์ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์โลก และความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลกดดันทั้ง ทางฝั่ งอุปสงค์และอุปทาน ท� ำให้อัตราก� ำไรโดยรวมของ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีต�่ ำกว่าในอดีต อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ด� ำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อผลประกอบการ และรักษาสภาพคล่อง อาทิ มาตรการลดค่าใช้จ่าย การจัดล� ำดับ ความส� ำคัญการลงทุน การปรับแผนการผลิตและแผนการขาย รวมถึงการปรับสัดส่วนการขายผลิตภัณฑ์ (Product Portfolio) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้ มั่นใจว่าบริษัทฯ จะสามารถรับมือกับเหตุการณ์ความท้าทาย ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่เหมาะสม สามารถลด ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยง และได้มาซึ่งโอกาส ทางธุรกิจ อันจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้บริษัทฯ และสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน บริษัทฯ ให้ความส� ำคัญอย่างยิ่งกับการบริหารจัดการความเสี่ยง และสภาวะวิกฤต (Risk and Crisis Management) ซึ่งเป็น รากฐานส� ำคัญของการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนท่ามกลาง สถานการณ์ในปัจจุบัน โดยอ้างอิงแนวทางการบริหารความเสี่ยง ตามมาตรฐานสากล The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) หรือ COSO ERM (2017) และมาตรฐานสากลระดับนานาชาติ ISO (International Organization for Standardization) หรือ ISO 31000:2018 รวมถึงหลักการก� ำกับดูแลกิจการที่ดี ส� ำหรับ บริษัทจดทะเบียนปี 2560 (Thai Corporate Governance Code for Listed Companies - 2017) และแนวทางต่อต้าน การทุจริตและความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งบริษัทฯ ได้รับการรับรองสถานะสมาชิกแนวร่วมต่อต้าน คอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เชื่อมโยงระบบบูรณาการบริหารจัดการความเสี่ยงระดับ องค์กร เข้ากับนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงานต่างๆ ครอบคลุมครบทั้งด้านการก� ำกับดูแล กิจการที่ดี (Governance) การบริหารความเสี่ยงและการ ควบคุมภายใน (Risk Management and Internal Control) และการก� ำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ (Compliance) หรือเรียกโดยย่อว่า GRC เพื่อให้มั่นใจ ว่าบริษัทฯ มีการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยมีระบบการ ควบคุมที่ครอบคลุมเพียงพอและมีประสิทธิผลทั่วทั้งองค์กร ท� ำให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และ เป้าหมายหลักในด้านต่างๆ ได้ โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง บริษัทฯ มีโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับองค์กร ระดับกลุ่มธุรกิจ/สายงาน และระดับปฏิบัติการ โดยบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรผ่านคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง (Risk Management Committee: RMC) ที่ได้รับ การแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ท� ำหน้าที่ก� ำกับ แนวทางการบริหารความเสี่ยงผ่านการก� ำหนดนโยบายการ บริหารความเสี่ยง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และกรอบการบริหารความเสี่ยงทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร กรอบการบริหารความเสี่ยง ด้านอัตราแลกเปลี่ยน กรอบการบริหารความเสี่ยงด้านราคา และส่วนต่างราคา กรอบการบริหารความเสี่ยงบริษัทในกลุ่ม และกรอบการบริหารความเสี่ยงด้านการลงทุน ตลอดจน ท� ำหน้าที่ในการติดตามความก้าวหน้า ให้ข้อคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง โดยมีคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยงระดับองค์กร (Enterprise Risk Management Committee: ERMC) อันประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงจาก สายงานต่างๆ ท� ำหน้าที่ติดตามการด� ำเนินงานด้านการบริหาร ความเสี่ยงระดับองค์กรอย่างสม�่ ำเสมอตามนโยบาย และ กรอบการบริหารความเสี่ยงที่ได้รับจากคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้ก� ำหนดให้ทุกหน่วยงานท� ำ การประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในด้วย ตนเองผ่านเครื่องมือ Control Self-Assessment (CSA) และ Operational Risk Management (ORM) ส� ำหรับการควบคุม ความเสี่ยงระดับปฏิบัติการ หรือระดับกระบวนการ เพื่อให้เป็นไป ตามนโยบาย วัตถุประสงค์ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และ กรอบการบริหารความเสี่ยงที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยง ส� ำหรับความเสี่ยงเฉพาะของการด� ำเนินธุรกิจ บริษัทฯ ก� ำหนด ให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงในระดับกลุ่มธุรกิจ/สายงาน หรือมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง เพื่อเพิ่มความ คล่องตัวในการบริหารจัดการโดยตรงและสามารถติดตาม สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิด อาทิ 86
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=